ตัววิ่ง

มาเร็วมาดูบอล็กเรา ฝนจร้า

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
                “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
                มีหลักพิจารณา ดังนี้
                กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
                คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
                คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
                เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

สถานที่ที่น่าเที่ยว

ล่องเรือชมธรรมชาติ ณ ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลน คลองโคน จ.สมุทรสงคราม (คู่หูเดินทาง)

         วันนี้เพื่อนร่วมทางขอเชิญชวนคุณผู้อ่าน ไปเที่ยวชมธรรมชาติของป่าชายเลนแบบใกล้ชิด ณ ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน จ.สมุทรสงคราม เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แถมยังได้ทำประโยชน์เล็ก ๆ ให้กับโลกใบนี้ของเราอีกด้วย

         ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคลน ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร การเดินทางสะดวกมาก ใช้เส้นทางพระราม 2 - แม่กลอง เมื่อข้ามสะพานแม่น้ำแม่กลองมาไม่ไกลมากนัก เราจะเห็นปั๊ม ปตท. ให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยแล้วขับไปตามทางมีป้ายบอกทางอย่างชัดเจน

ป่าชายเลนคลองโคนการเดินทางมาท่องเที่ยวที่นี่สร้างความประทับใจมากมายหลายอย่าง เพราะนอกจากธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แล้ว ความน่ารักและน้ำใจไมตรีของชาวบ้านก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยครับ โดยเราเริ่มต้นการผจญภัยโดยการล่องเรือชมระบบนิเวศน์ของป่าชายเลน ที่ชาวชุมชนร่วมใจกันพัฒนาฟื้นฟูผืนป่าชายเลนจากหลักสิบ สู่หลักร้อย และหลักหลาย ๆ พัน

         ในปัจจุบันนี้ ระหว่างนั่งเรือเราก็จะได้ชมวิถีชีวิตของชาวบ้านริมน้ำ สัตว์น้ำอย่างปูก้ามดาบ ปูแสม ปลาอีจัง ปลาตีน ก็มีให้เห็นตามชายฝั่ง พันธุไม้ป่าชายเลน ที่รู้จักกันโดยทั่วไปได้แก่โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสมพังกาหัวสุม ลำพู ลำแพน จาก  ตะบูน โปรงแดงโปรงขาว แสมขาว ตาตุ่ม โพธิ์ทะเล ปอทะเล และเหงือกปลาหมอก็ยังมีให้เห็นครับ อีกจุดหนึ่งที่ไม่ควรพลาดคือการให้อาหารลิงแสม สัตว์ท้องถิ่นซึ่งมีความน่ารักแสนรู้เป็นอย่างมาก

ป่าชายเลนคลองโคนเมื่อนั่งเรือเรื่อย ๆ ผ่านมายังปากน้ำก็จะได้พบเห็นวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้าน คือ การถีบกระดานเลนเก็บหอยแครง หอยตลับ ด้วยภูมิปัญญาของชาวบ้าน หากเราเหยียบลงบนเลนโดยตรงเลนก็จะดูดตัวเราลงไปประมาณต้นขา แต่หากเรานั่งบนกระดานเราก็สามารถถีบกระดานไปยังจุดไหนก็ได้ เพื่อหาหอยแครง จุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถลงไปสัมผัสถึงโคลนดิน กลิ่นเลนได้อย่างแท้จริง บริเวณโดยรอบพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการประมงของชาวบ้าน อาทิ ทำฟาร์มหอยแมลงภู่ การลอยอวนจับกุ้ง การวางเบ็ดราว เป็นต้น

ป่าชายเลนคลองโคนในฝั่งทะเลอ่าวไทยจะพบวิถีชีวิตแบบนี้ได้ที่บ้านคลองโคลนเท่านั้น นั่งเรือออกไปไกลอีกสักหน่อย คนขับเรือจะพาไปรับลมเย็นกลางท้องทะเลที่ กระเตง (บ้านพักกลางทะเลที่เฝ้าฟาร์มหอย) ถ้าต้องการรับประทานอาหารทะเลสด ๆ บนนี้ก็สามารถแจ้งกับคนขับเรือได้ก่อน เพื่อจะได้จัดเตรียมมาให้พร้อมก่อนออกเดินทาง ขากลับแอบเสียวเล็กน้อยด้วยการโชว์ขับเรือบนเลน คนขับบอกว่าเวลาขับบนเลนนั้น ห้ามหยุดเรือเด็ดขาดไม่งั้นเรือจะโดนโคลนดูด แล้วพวกเราก็ต้องลงไปช่วยขุดเลนหาล่องน้ำ เพื่อให้เรือสามารถแล่นต่อไปได้ แต่โชคดีทริปนี้ของเราเรือแล่นได้โลด แถมมีสไลด์เรือโชว์สนุกสนานตื่นเต้นมากครับ

ป่าชายเลนคลองโคน พอถึงจุดนี้พวกเราก็ต้องลงจากเรือมานั่งบนกระดานกันครับ เพราะก่อนกลับที่นี่เค้านิยมให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่ว มในการอนุรักษ์ป่าชายเลน ด้วยการให้ลงมือปลูกต้นลำพู โปรงแดงโปรงขาว เป็นที่ระลึกกันครับ เพียงเล็กน้อยคนละต้นสองต้น ก็ทำให้เรารู้สึกดีว่าเราได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะโลกร้อน

         พอกลับมาถึงยังศูนย์ก็มีสถานที่อาบน้ำพร้อม มีของว่างและเครื่องดื่มไว้รับรอง หากใครสนใจจะพักค้างคืนบนกระเตง เพื่อหาประสบการณ์แปลกใหม่ที่นี่เค้าก็มีให้บริการ หรือถ้ามีเด็ก ๆ มาด้วยจะนอนโฮมสเตย์ของชาวบ้านหรือรีสอร์ทก็ได้
ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)

flag-brunei-darussalam
เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn

flag-cambodia
ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh

flag-indonesia
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id

flag-lao_pdr
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la

flag-malaysia
มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my


flag-myanmar
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm

flag-philippines
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph

flag_singapore
สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg

flag-thailand
ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th

flag-vietnam
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn
  

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับอาเซียน
ASEAN ย่อมาจากอะไร
- Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ ประเทศใดบ้าง
- 5  ประเทศ  ได้แก่  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ และไทย
 ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
- กัมพูชา ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ลาว
อาเซียน+3 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศ จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น
อาเซียน+6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
- กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ+3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์
คำขวัญอาเซียน มีว่าอย่างไร
- หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)
ใครคือเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน
- ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ
สัญลักษณ์อาเซียนสื่อความหมายใดบ้าง
asean_564
รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน

สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว      หมายถึง   ความบริสุทธิ์
สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง
3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ใด
- กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด
- ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
- กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ

ด.ญ. พรรณ์ษา กันทะใจ ชื่อเล่น นำฝน
กำลังศึกษาอยู่ชั้นม.2/4
เกิดวันที่ 9 กรกฎาคม 2541